แจ้งการโอนเงิน    เลขที่บัญชี    วิธีสั่งซื้อ
wattajuk
 
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน     
 
 
ดูตะกร้าสินค้า
ยังไม่สินค้าอยู่ในตะกร้า
 
 
** ใส่ชื่อหนังสือสั้นๆที่คุณจำได้
ค้นหา

 
  *สินค้าพิเศษ
  กฎหมาย,สัญญา
  การออกแบบ,ศิลปะ,สถาปัตยฯ
  การเกษตร,พืช,ต้นไม้
  การเรียนการสอน,การศึกษา
  การแพทย์,พยาบาล,โรค
  กีฬา,นันทนาการ,เกมกล
  ครอบครัว,คุณแม่,เด็ก,ลูก
  ความรู้,ข้อมูล,อ้างอิง
  คอมพิวเตอร์,ไอที
  คู่มือช่าง/วิศวกรรม
  งานฝีมือ,งานประดิษฐ์
  จิตวิทยา/พัฒนาตนเอง
  ชีวประวัติ,ประวัติคนดัง
  ตลก,ขันขำ,แปลกประหลาด
  ท่องเที่ยว,เดินทาง,แผนที่
  นวนิยายแนวชีวิตและสังคม
  นวนิยายแนววิทยาศาสตร์
  นิยาย/วรรณกรรม/เรื่องสั้น
  นิยาย/วรรณกรรมจีน/กำลังภายใน
  นิยาย/วรรณกรรมภูตผี,ปีศาจ
  นิยาย/วรรณกรรมรักโรแมนติก
  นิยาย/วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์
  นิยาย/วรรณกรรมแปล/อิโรติก
  นิยาย/วรรณกรรมไทย/ทั่วไป
  นิยายวรรณกรรมผจญภัย/แฟนตาซี
  นิยายวรรณกรรมสืบสอบสวน
  บริหาร,จัดการ,การตลาด
  บันเทิง,ดนตรี,บทเพลง
  บ้านและสวน
  ประวัติศาสตร์
  พจนานุกรม,สารานุกรม
  พระราชนิพนธ์,หนังสือพิเศษ
  ภาษาศาสตร์
  รถยนต์,ยานพาหนะ
  รัฐศาสตร์,การเมือง,การปกครอง
  วรรณคดี,สารคดี
  วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี
  ศาสนา/ธรรมะ/ปรัชญา
  ศิลปวัฒนธรรม
  สังคมศาสตร์
  สัตว์เลี้ยง,ปศุสัตว์
  สุขภาพ,ความงาม
  หนังสือเด็ก/เยาวชน
  อาชีพ,การทำงาน,ประสบการณ์
  อาวุธ,สงคราม,การรบ
  อาหาร/เครื่องดื่ม
  เศรษฐ์ศาสตร์/การลงทุน/หุ้น
  โหราศาสตร์/ดวง/พยากรณ์
  ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์
  ไสยศาสตร์,วิญญาณ,อาถรรพ์

 
 
 
 
 
 
 
ประกาศ ข่าวสาร
 
อาหารสมอง..สำหรับผู้ที่ขี้หลงขี้ลืม+
อาหารสมอง
คุณมีอาการเช่นนี้บ่อยแค่ไหน
จำไม่ได้ว่าวันนี้จอดรถชั้นไหนนะ
เอ..ผู้ชายที่ส่งยิ้มให้เมื่อกี๊หน้าตาคุ้นๆ ชื่อ อะไรนะ
ว่าแต่ว่าเมื่อเช้ากินยาก่อนอาหารแล้วหรือยัง
จำได้ว่าจดไว้ในสมุดโน้ตกันลืมทั้งชั้นจอดรถและ เวลากินยา
แต่เอาสมุดเล่มที่ว่าไปวางไว้ที่ไหนล่ะเนี่ย


ความจำหายไปไหน

อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช
Nutrition Consultant จาก Vital Life
ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อธิบายว่า
โดยธรรมชาติแล้วเซลล์สมองเฉพาะส่วนจะตายไปตามวัย
ทำให้คนเรามีปัญหาในเรื่องของความจำ
หรือความสามารถในการจำลดลงและหลงลืมบ่อยๆ เมื่ออายุมากขึ้น

โดยปกติแล้วความจำช่วงที่ดีที่สุดจะอยู่ในตอนที่คนเราอายุ 20 ปี
หลังจากนั้นจะค่อยๆ ลดลงทีละน้อยๆ
จนเห็นชัดเจนตอนอายุ 50 ปี

คนทำงานในวัยสามสิบขึ้นไป
แม้วัยยังห่างไกลห้าสิบ อาจสงสัยว่าทำมั้ยตนจึงมีอาการความจำตกๆ หล่นๆ
สมาธิน้อยลง หลงลืมเป็นประจำ แถมบางครั้งยังรู้สึกเครียด หดหู่ อยู่บ่อยๆ

สาเหตุอาจไม่ใช่เพราะ
ความแก่ มาเยือน
อาจารย์ศัลยา วิเคราะห์ว่า เป็นผลมาจากสภาพแวดล้อม
และการใช้ชีวิตของแต่ละคน รวมไปถึงระดับ
น้ำตาล ในเลือดด้วย

เนื่องจากน้ำตาลเป็นหนึ่งในสารจำเป็นซึ่งส่งผลต่อการทำหน้าที่ของเซลล์สมอง
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำเกินไป
การทำหน้าที่ของเซลล์สมองก็จะผิดปกติได้
ดังนั้นการมีระดับน้ำตาลในเลือดที่สม่ำเสมอ จึงมีผลดีต่อสมอง


อาหารเรียกความจำ

คุณกินอะไร ก็จะเป็นอย่างนั้น ประโยคสั้นๆ ที่เป็นความจริงแท้แน่นอน
นักวิจัยอธิบายต่อว่า อาหารที่เรารับประทานในแต่ละคำยังส่งผลถึงสมาธิ
ความจำ รวมไปถึงความเฉลียวฉลาดด้วย สิ่งที่เราไม่รู้และควรรู้ก็คือ
เซลล์สมองของคนเรามีจำนวนมากถึงร้อยพันล้านเซลล์
แต่ละเซลล์ก็มีความต้องการอาหารที่มีสารอาหารในการเสริมสร้างการทำงานของเซลล์ประสาท
การขาดสารอาหารเพียงบางชนิดแม้ในจำนวนเล็กๆ น้อยๆ
ก็ทำให้ความจำลดลงได้ก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการออกมา

ในการทำงานของเซลล์สมองทุกๆ ตัว จะมีสารเคมีที่เรียกว่า สารสื่อสมอง
ซึ่งช่วยสื่อสารจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งต่อๆ กันไป
ระบบการไหลเวียนของเลือดจะนำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
ซึ่งการทำงานจะเป็นไปได้ด้วยดีหรือไม่นั้น
ขึ้นอยู่กับว่ามีสารอาหารไปเลี้ยงสมองอย่างเพียงพอสม่ำเสมอ
พอที่จะทำให้สมองทำงานได้ดีตลอดชีวิตหรือไม่
อาหารดีมีประโยชน์สำหรับสมอง
ช่วยให้เราคิดดี ทำดี มีความจำดี มีอะไรบ้าง
แล้วเราต้องปฏิบัติตนอย่างไร


สารบำรุงสมอง
สมองต้องการอะไรบ้าง
เริ่มต้นกันที่
วิตามินบี ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2 ไนอะซิน บี 6
บี 12 แพนโธทีนิค และกรดโฟลิค


ช่วยป้องกันสมองเสื่อม ความจำเลอะเลือน
อาหารที่มีวิตามินบีสูง เช่น
ผลิตภัณฑ์นมพร่องหรือขาดไขมัน
กล้วย อาหารทะเล ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่วต่างๆ ผัก ผลไม้

ธาตุเหล็ก

เป็นแร่ธาตุจำเป็นต่อการนำออกซิเจนไปเลี้ยงสมอง
การขาดธาตุเหล็กจะทำให้สมาธิสั้น ไอคิวลดลง
การเสริมธาตุเหล็กสำหรับผู้ที่ขาดธาตุเหล็ก จะช่วยกระตุ้นการทำงาน
ของสมองซีกซ้าย ที่มีความสามารถในการวิเคราะห์ ใช้ความคิด
เพิ่มทักษะในการใช้คำพูด อาหารที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ เนื้อสัตว์ อาหารทะเล


โคลีน

ชื่อนี้ควรจำไว้ให้ดีเพราะเป็นองค์ประกอบที่พบในเยื่อหุ้มเซลล์สมอง
และสารเคมีในเซลล์สมองที่ชื่อว่า อะเซทิลโคลีน ซึ่งควบคุมความจำ
อาหารที่มีโคลีนสูง คือ ไข่แดง ตับ ถั่วลิสง เนยถั่ว บรูเออส์ยีส
ส่วนที่มีในปริมาณเล็กน้อยได้แก่ มันฝรั่ง มะเขือเทศ
ขนมปังโฮลวีท นม ส้ม ดอกกะหล่ำ และแตงกวา


สารแอนตี้ออกซิแดนท์ เช่น
วิตามินซี วิตามินอี และ เบต้าแคโรทีน

ช่วยปกป้องเนื้อเยื่อสมองจากอนุมูลอิสระซึ่ง ทำให้เซลล์สมองเสื่อม
ส่งผลให้ความจำเสื่อม มีผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์
ประเทศออสเตรเลีย พบว่า ผู้ที่บริโภควิตามินซีสูงมีผลการทดสอบด้านสมาธิ
ความจำ และการคำนวณดีที่สุด พืชที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ช่วยป้องการสมองเสื่อม ได้แก่ สารโอพีซีสกัดจากเมล็ดองุ่น
สารสกัดจากใบแปะก้วย
กรดไลโปอิคและสารฟลาโวนอยด์ใน ผัก ผลไม้ เช่น องุ่น
ผลไม้ประเภทเบอร์รี ชาเขียว


น้ำมันปลา หรือโอเมก้า
3
ช่วยป้องกันความจำเสื่อม ปลาที่มีโอเมก้า
3 มาก ได้แก่
ปลาแซลมอน ปลาค้อด ปลาซาร์ดีน และปลาแมคคอเรล

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านอาหารแนะนำให้บริโภคเนื้อปลาสัปดาห์ละ
2-3 ครั้ง
หมายเหตุเดิมคิดว่าน้ำมันปลามีแต่ในปลาทะเล แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลว่าแม้ไขมันของปลาน้ำจืด ก็ใช้ได้


กินดี สมองดี
หลักง่ายๆ
ในการเลือกรับประทานอาหารให้ได้ครบสูตรในแต่ละมื้อ
โดยไม่ต้องมานั่งนับแคลอรีให้ปวดหัว อาจารย์ศัลยา
แนะให้แบ่งจานอาหารออกเป็น
4 ส่วนเท่าๆ กัน
ประกอบไปด้วย ผัก ผลไม้ ข้าวธัญพืช และโปรตีน


อาหารเช้า
สำคัญที่สุด เนื่องจากสมองคนเรา
ต้องการน้ำตาลกลูโคสเพื่อใช้เป็นพลังงาน
ถ้าเราไม่รับประทานอาหารก็จะทำให้สมองขาดเชื้อเพลิงในการทำงาน
คนที่รับประทานอาหารเช้าจะขาดโรงเรียนหรือขาดงานน้อยกว่า
รวมไปถึงการทดสอบทางคณิตศาสตร์ สมาธิ ความคิดสร้างสรรค์
ความรวดเร็วในการแก้ปัญหา การรำลึกความจำ ความแม่นยำในการทำงานดีขึ้น
แถมยังมีอารมณ์ดีกว่าคนไม่กินข้าวเช้าอีกด้วย
อาหารเช้าที่ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำ ได้แก่ ซีเรียลผสมนมพร่องมันเนย
หรือนมถั่วเหลือง ผลไม้
1 ชนิด และน้ำผลไม้ (ไม่ผสมน้ำเชื่อม) 1 แก้วเล็ก

ถ้าอยากรับประทานอาหารเช้าแบบอเมริกัน
ขอแนะนำเป็น ไข่ดาว ขนมปังโฮลวีททาเนยถั่ว

งดไส้กรอก แฮม เพราะมีไขมันสูง

กาแฟ 1 ถ้วย อนุญาตให้เติมน้ำตาล 1 ช้อนชาพอ


อาหารเช้าแบบไทยๆ
แนะนำให้รับประทานข้าวต้มเครื่อง ข้าวต้มปลา
เสริมผัดผัก
1 จาน หรือข้าวโพด 1 ฝัก นมถั่วเหลือง 1 แก้ว
น้ำส้มสด
1 แก้วเล็ก มะละกอ 1 เสี้ยว
นี่คือตัวอย่างของอาหารเช้า คุณภาพดี


อาหารกลางวัน

อาหารไขมันสูงหรือน้ำตาลสูง
นอกจากจะทำให้ง่วงนอนแล้ว สมองก็ไม่แล่นอีกด้วย
ฉะนั้น
มื้อเที่ยงจึงไม่ควรเป็นมื้อหนัก มีโปรตีนเล็กน้อย
ธัญพืชไม่ขัดสีมากหน่อย จะช่วยให้สมองตื่นตัวตลอดเวลา อาหารแนะนำได้แก่
แซนด์วิชทูน่าขนมปังโฮลวีท สลัด ( น้ำสลัดไขมันต่ำ) 1 จาน น้ำผลไม้

และผลไม้สด หรือก๋วยเตี๋ยวน่องไก่ใส่เส้นน้อยๆ ผักเยอะๆ

ไม่ใส่กระเทียมเจียว ไม่รับประทานหนังไก่
หรือถ้าอยากรับประทานสปาเกตตีสักจานก็ขอให้เพิ่มสลัดอีก
1 จาน
ไม่แนะนำ ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว เพราะมีไขมันมาก เปลี่ยนเป็นราดหน้าจะดีกว่า
โดยเปลี่ยนจากเส้นใหญ่ เป็นเส้นหมี่ วุ้นเส้น หรือเส้นก๋วยเตี๋ยวเซี่ยงไฮ้


ชวนสมองออกกำลังกาย

การออกกำลังกายควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารที่สมองต้องการเป็นสิ่งที่จำเป็น
วิธีการออกกำลังกายแบบ
แอโรบิกและโยคะ
รวมไปถึง
การออกกำลังกายสมอง ด้วยการท้าทาย
ในการทำสิ่งใหม่ๆ ดูบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเกมที่ใช้ความคิด ลองหัดวาดรูป
หรือเรียนดนตรี อย่าลืมว่าไม่มี อะไรแก่เกินเรียน
เมื่อสมองได้รับการท้าทายแล้ว ก็จะไม่เครียด สมอง ความคิดก็จะปลอดโปร่ง
หากปฏิบัติตามคำแนะนำ
ทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญได้แล้ว คราวนี้
คุณคงจะไม่ต้องไปยืนทำสมาธิอยู่หน้าลิฟต์อาคารจอดรถเพื่อนึกว่า
จอดรถไว้ที่ชั้นไหน ยามหนุ่มยิ้มให้ก็ไม่ต้องงงว่า เขาเป็นใคร อีกต่อไป


สมูทตี้สูตรสดชื่น

ส่วนผสม :
แครอท 4 หัว แอปเปิล
1 ผล ขิงเล็กน้อย พริกหวานสีแดง 1/2 เม็ด
ผิวมะนาวเล็กน้อย ซอสโทบาสโก้นิดหน่อย
วิธีทำ - นำมาปั่นรวมกัน รินใส่แก้วรับประทานทันที ไม่ควรทิ้งไว้


เมนูบำรุงสมอง
ซุปถั่ว
ซุปมันฝรั่ง ซุปฟักทอง แกงกะหรี่ผักอินเดีย ต้มยำปลา ต้มยำกุ้ง
เต้าหู้ผัดผัก หลายๆ สี ผัดเปรี้ยวหวานไก่

เคล็ดลับเพิ่มความจำระยะสั้น
ท่องหนังสือ ก่อนเข้าประชุม กินน้ำตาลปริมาณ
1 ช้อนชา
จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น ในขณะเดียวกัน
หากร่างกายได้รับน้ำตาลมากเกินไปจะก่อให้เกิดอาการซึมเศร้า
ขาดความกระตือรือร้น / กาแฟ วันละ
1 ถ้วย น้ำตาล 1 ช้อนชา เท่านั้นพอ