แจ้งการโอนเงิน    เลขที่บัญชี    วิธีสั่งซื้อ
wattajuk
 
Username
Password
สมัครสมาชิก | ลืมรหัสผ่าน     
 
 
ดูตะกร้าสินค้า
ยังไม่สินค้าอยู่ในตะกร้า
 
 
** ใส่ชื่อหนังสือสั้นๆที่คุณจำได้
ค้นหา

 
  *สินค้าพิเศษ
  กฎหมาย,สัญญา
  การออกแบบ,ศิลปะ,สถาปัตยฯ
  การเกษตร,พืช,ต้นไม้
  การเรียนการสอน,การศึกษา
  การแพทย์,พยาบาล,โรค
  กีฬา,นันทนาการ,เกมกล
  ครอบครัว,คุณแม่,เด็ก,ลูก
  ความรู้,ข้อมูล,อ้างอิง
  คอมพิวเตอร์,ไอที
  คู่มือช่าง/วิศวกรรม
  งานฝีมือ,งานประดิษฐ์
  จิตวิทยา/พัฒนาตนเอง
  ชีวประวัติ,ประวัติคนดัง
  ตลก,ขันขำ,แปลกประหลาด
  ท่องเที่ยว,เดินทาง,แผนที่
  นวนิยายแนวชีวิตและสังคม
  นวนิยายแนววิทยาศาสตร์
  นิยาย/วรรณกรรม/เรื่องสั้น
  นิยาย/วรรณกรรมจีน/กำลังภายใน
  นิยาย/วรรณกรรมภูตผี,ปีศาจ
  นิยาย/วรรณกรรมรักโรแมนติก
  นิยาย/วรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์
  นิยาย/วรรณกรรมแปล/อิโรติก
  นิยาย/วรรณกรรมไทย/ทั่วไป
  นิยายวรรณกรรมผจญภัย/แฟนตาซี
  นิยายวรรณกรรมสืบสอบสวน
  บริหาร,จัดการ,การตลาด
  บันเทิง,ดนตรี,บทเพลง
  บ้านและสวน
  ประวัติศาสตร์
  พจนานุกรม,สารานุกรม
  พระราชนิพนธ์,หนังสือพิเศษ
  ภาษาศาสตร์
  รถยนต์,ยานพาหนะ
  รัฐศาสตร์,การเมือง,การปกครอง
  วรรณคดี,สารคดี
  วิทยาศาสตร์/เทคโนโลยี
  ศาสนา/ธรรมะ/ปรัชญา
  ศิลปวัฒนธรรม
  สังคมศาสตร์
  สัตว์เลี้ยง,ปศุสัตว์
  สุขภาพ,ความงาม
  หนังสือเด็ก/เยาวชน
  อาชีพ,การทำงาน,ประสบการณ์
  อาวุธ,สงคราม,การรบ
  อาหาร/เครื่องดื่ม
  เศรษฐ์ศาสตร์/การลงทุน/หุ้น
  โหราศาสตร์/ดวง/พยากรณ์
  ไฟฟ้า/อิเล็กทรอนิคส์
  ไสยศาสตร์,วิญญาณ,อาถรรพ์

 
 
 
 
 
 
 
ประกาศ ข่าวสาร
 
เทคนิคการกระตุ้นให้เด็กรักการอ่าน
ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็กในแต่ละวัย เป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะการ ให้ความรู้กับผู้ปกครอง เด็ก โดยเฉพาะบิดา โดยใช้วิธีการ มีส่วนร่วม เพื่อให้บิดาได้รู้ และตระหนักถึงบทบาทของตนเอง ในการดูแลบุตร นอกจากนี้การให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง ผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น นิทรรศการ ในศูนย์เด็กวัยก่อนเรียน เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดี ในการดูแลส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

ปัจจุบันมีสื่อสำเร็จรูปออกมาหลากหลายรูปแบบสำหรับเด็ก ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เด็กมีปัญหาในการอ่าน เด็กจำนวนไม่น้อยที่เฝ้าแต่นั่งดูโทรทัศน์จากเคเบิ้ลทีวี VDO VCD ตลอดทั้งวัน จนไม่เป็นอันทำอะไร เป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กๆ ไม่รู้สึกรักการอ่าน

สาเหตุที่เด็ก ไม่รู้สึกรักการอ่านหนังสือ พบว่าสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยที่สำคัญ ในการรักการอ่าน จากเอกสารวิชาการพบว่า การขาดการกระตุ้นให้เด็กรู้สึกรักการอ่านตั้งแต่วัยเยาว์ เป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนั้นการบังคับให้อ่านในสิ่งที่ไม่น่าสนใจ ถูกบังคับให้อ่าน หรือให้อ่านในสิ่งที่เขาไม่ชอบ รวมทั้ง ผู้สอนไม่มีเทคนิคในการสอนให้เด็กอ่าน หรือ ชอบลงโทษเด็ก และการที่ เด็กใช้เวลากับสิ่งอื่น เช่น โทรทัศน์ เกมส์ วีดีโอ ซีดี ฯลฯ มากเกินไป สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยให้เด็กไม่รู้สึกรักการอ่านได้

เทคนิคในการกระตุ้นให้เด็กรู้สึกรักการอ่าน สภาพแวดล้อมภายในบ้าน เป็นสิ่งจำเป็น ควรสร้างเพื่อกระตุ้นให้เด็กรู้สึกรักการอ่าน เช่น ควรมีการ จัดมุมหนังสือที่สวยงามสำหรับให้เด็กหยิบได้ง่าย และถ้ามีของเล่น ตุ๊กตาสำหรับเด็กก็จะทำให้เกิดความน่าสนใจ นอกจากนี้การอ่านหนังสือให้เด็กฟังก่อนนอน ก็ควรเป็นหนังสือที่มีภาพประกอบ และสังเกตดูว่าเด็กชอบเล่มไหน อ่านให้เขาฟังซ้ำๆ จนเขาเข้าใจ และจับความหมายของคำต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ นี่คือจุดเริ่มต้นของการอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ

ไม่จำเป็นต้องยัดเยียดให้เด็กอ่านจนเขารู้สึกว่าเป็นการบังคับ ไม่จำเป็นต้องจัดตารางอย่างเคร่งครัด อาจใช้โอกาสที่เหมาะสมเช่น ตอนเช้า แต่งตัวให้ลูกรับประทานอาหารร่วมกัน นักพักผ่อนยามว่าง สบายๆ ค่อยๆ สอนเด็กวันละ 2-3 คำ และเขาก็จะเพิ่มจำนวนทีละนิด เรื่อยๆ ได้เอง หลังจากที่เขา เข้าใจคำแต่ละคำได้ดี ก็หมายถึงว่าเขาพร้อมที่จะอ่านแล้วแทรกอารมณ์ขัน เรื่องโจ๊ก เสียงตลกๆ เพื่อให้เด็กเกิดความอยากเรียนอยากรู้ จัดมุมเงียบ ให้ลูกนั่งอ่านหนังสือเงียบๆ เพราะเด็กสมัยนี้ถูกกระตุ้นจนเกินขีดการรับรู้ของมนุษย์ปรกติ มีทั้งเสียงทีวี เสียงรถ เสียงพูดคุย เสียโทรศัพท์ ฯ ลฯ ยิ่งทำให้เด็กๆ หมดโอกาสมีจุดสงบสร้างพลังสมอง พลังสติปัญญาและจะอ่านหนังสือได้ไม่ดีเท่าที่ควร

หนังสือนิทานคลาสสิค เช่น เจ้าหญิงนิทรา สโนไวท์กับคนแคระทั้ง7 ใช้ได้ตลอดเวลาไม่เคยล้าสมัยถ้าลูกได้ ฟังบ่อยๆ หลายๆ ครั้ง ให้ลองอ่านบางตัว หรือเล่าเรื่องใหม่ตามแต่จินตนาการของตัวเด็ก ทำให้เด็กมีนิสัย ในการเรียนรู้ที่ดีและเป็นนักอ่านที่ดีต่อไป

เมื่อเด็กเริ่มรักการอ่านหนังสือแล้ว สามารถใช้ เทคนิคการอ่านหนังสือ ของ อ.พรทิพย์ ศรีสุรักษ์ ไปใช้พัฒนาการอ่านหนังสือให้ประสบความสำเร็จ โดยเริ่มต้น จากการสำรวจเนื้อหาและส่วนประกอบต่างๆในหนังสือ จากนั้นอ่านซ้ำเพื่อจับใจความ สำคัญ ควรตั้งคำถามกับตัวเองขณะอ่าน ว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร จากนั้นบันทึกเป็นคำพูดที่เข้าใจง่าย จับประเด็นเนื้อหาที่อ่านให้เข้าใจ ที่สำคัญควรมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เมื่อปฏิบัติได้คุณ ก็จะเป็นผู้อ่านที่ประสบความสำเร็จต่อไป